ข้อควรปฏิบัติทั่วๆ ไป ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์



1. เปิดใช้งานซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยและทำการอัพเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใช้งานคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไร้สายแบบสาธารณะที่ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล อย่างเช่นในบริเวณสนามบิน ร้านกาแฟ และในสถานที่สาธารณะต่างๆ

2. ติดตั้งผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่จะช่วยปกป้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือการดาวน์โหลดไฟล์ลงเครื่องคอมพิวเตอร์แบบครบวงจร

3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ป้องกันภัยที่ใช้ว่า ครอบคลุมการป้องกันทั้งระบบอีเมล์ เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ และโปรแกรมแอพพลิเคชั่นการประมวลผลที่ใช้ทั้งหมด และสามารถทำการแจ้งเตือนเกี่ยวกับปริมาณ ทราฟิก ทั้งขาเข้าและขาออกจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานในแบบเวลาจริง

4. ปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างเช่น เทคโนโลยี Web Reputation ซึ่งเป็นการตรวจสอบชื่อเสียงและประวัติเว็บไซต์ เพื่อวัดระดับความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์นั้นๆ ก่อนที่จะเข้าเยี่ยมชมเว็บ นอกจากนี้ควรใช้กับเทคโนโลยี Web Reputation ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เช่น เทคโนโลยีการกรองยูอาร์แอล หรือ URL Filtering และเทคโนโลยีการสแกนเนื้อหาหรือ Content Scanning

5. ใช้เว็บเบราว์เซอร์เวอร์ชันล่าสุดและทำการติดตั้งอัพเดทความปลอดภัยเป็นประจำ โดย Internet Explorer ของไมโครซอฟท์นั้นจะมีการออกอัพเดทในวันอังคารที่ 2 ของแต่ละเดือน สำหรับวิธีการอัพเดทนั้นสามารถติดตั้งได้จากเว็บไซต์ http://update.microsoft.com ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ Mozilla Firefox นั้นจะมีการออกอัพเดทเป็นระยะ สำหรับวิธีการอัพเดทนั้นทำได้ง่ายโดยคลิกเมนู Help แล้วคลิก Check for updates… สำหรับวิธีการอัพเดทของเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ ให้ศึกษาจากคู่มือการใช้งาน

6. ในการต้องการติดตั้งใช้งานปลั๊ก-อินเว็บสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ แนะนำให้เลือกใช้ปลั๊ก-อินเว็บที่ไม่มีการใช้งานสคริปต์

7. ตรวจสอบกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่ใช้บริการอยู่ว่าระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการนั้นมีระบบป้องกันมัลแวร์หรือไม่ และถ้ามีให้ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไปว่าระบบการป้องกันที่ใช้เป็นแบบใด มีขอบเขตครอบคลุมแค่ไหน

8. ในกรณีที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ของไมโครซอฟต์ ให้ทำการอัพเดทเป็นประจำโดยเปิดใช้งานฟีเจอร์ “Automatic Update" และคอนฟิกให้วินโดวส์ทำการติดตั้งอัพเดทให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยปกติไมโครซอฟท์นั้นจะมีการออกอัพเดทของระบบวินโดวส์ในวันอังคารที่ 2 ของแต่ละเดือน แต่ถ้ามีกรณีเร่งด่วนก็อาจจะออกอัพเดทกรณีพิเศษ (ในปี 2552 ไมโครซอฟท์ออกอัพเดทกรณีพิเศษ จำนวน 2 ตัว หนึ่งในนั้นคืออัพเดทเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง Server Service ซึ่งไวรัส Conficker ใช้เป็นช่องทางในการโจมตีวินโดวส์)

9. ติดตั้งใช้งานโปรแกรมไฟร์วอลล์ และทำการตรวจสอบและอัพเดทโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งติดตั้งโปรแกรมด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมตรวจสอบและป้องกันการบุกรุก (IPS) และโปรแกรมป้องกันมัลแวร์/สปายแวร์ เป็นต้น

10. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าโซลูชั่นหรือซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่ใช้งานอยู่ได้รับการอัพเดทฐานข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

ค่านิยม 12 ประการ