คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน


หลักการเริ่มต้นในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน
คอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก สามารถนำเข้ามาช่วยอํานวยความสะดวกในการทํางานของมนุษย์ได้แทบทุกสาขาอาชีพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานนั้นต้องมีการออกแบบ วางแผน เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานได้โดยตรงแต่ต้องมีการใช้ชุดคําสั่งในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานต้องใช้

- ฮาร์ดแวร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก
- ซอฟต์แวร์เพื่อการทํางานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ให้สามารถผลิตผลงานสร้างสรรค์ได้ตามวัตถุประสงค์


การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงาน


สามารถทําได้ตั้งแต่งานง่ายๆ โดยใช้แค่เพียงคอมพิวเตอร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมระดับ สูงเพื่อควบคุมการทํางานของฮาร์ดแวร์ และการใช้งานในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงสามารถสร้างชิ้นงานที่ใช้งบประมาณเล็กน้อย โดยใช้ซอฟต์แวร์เท่าที่มีอยู่แล้ว จนถึงการลงทุนระดับสูงที่ต้องการใช้งบประมาณในการซื้อ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อการพัฒนาเป็นการเฉพาะ

ผลกระทบของคอมพิวเตอร์ต่อมนุษย์

สร้างความเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ให้ก้าว ไปในอนาคตอย่างก้าวกระโดด

- เทคโนโลยีการสํารวจอวกาศ
- การออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์
- กิจกรรมด้านความ บันเทิง เช่น เพลง การแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ




- การดูแลรักษาทางการแพทย์ ใช้วินิจฉัยและ ทําการรักษาได้
- อย่างแม่นยํา เช่น การผ่าตัดเซลล์ สมองขนาดเล็ก โดยอาศัยการเขียน
- โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ในการผ่าตัด มีความปลอดภัยสูง
- งานที่มนุษย์สามารถทําได้ยากหรือไม่สามารถทําได้กลายเป็นเรื่องง่าย




ผลกระทบของคอมพิวเตอร์ต่อสังคมมนุษย์หลายประการ ดังนี้

1. ผลกระทบทางด้านธุรกิจการค้า
      ใช้เก็บข้อมูลบัญชีรายชื่อลูกค้าการคํานวณ การจัดทําบัญชี และในองค์กรธุรกิจ ใช้ประกอบการทํางาน สร้างผลงาน เช่น การสร้างแผนภูมิชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนภูมิวงกลมแผนภูมิแท่ง เพื่อนนําเสนอในการประชุม




2. ผลกระทบทางด้านความบันเทิง
         สร้างภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ ฉากบู๊ต่อสู้มีการใช้เทคนิคการนําเสนอ (Effect)ช่วยทําให้เกิดภาพสมจริง ภาพยนตร์บางเรื่องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกโดยไม่มีตัวละครที่แสดงจริงเลยแม้แต่คนเดียว เกมต่างๆ ในท้องตลาดโดยเฉพาะเกมออนไลน์จากเดิม สองมิติปัจจุบันเป็นสามมิติทําให้ดูสมจริง











3.ผลกระทบทางด้านการศึกษา
         ช่วยนักเรียนในการสืบค้นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหากต้องการเขียนรายงานเข้าไปที่สารานุกรมออนไลน์(Wikipedia)หรือตั้งหัวเรื่องใช้คําค้นหา ฯลฯ

          สําหรับครูผู้สอนก็สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน การจัดการเรียนการสอน สื่อคอมพิวเตอร์สื่อ มัลติมีเดีย สื่อออนไลน์การใช้โปรแกรมประมวลผลการเรียนการนําเสนอผลการเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ช่วยครูและนักเรียนมากมาย
4.ผลกระทบทางด้านการแพทย์
         งานการเก็บประวัติการรักษาของผู้ป่วยในรูปแบบฐานข้อมูล เก็บประวัติการใช้ยา การวินิจฉัย และช่วยในการรักษา เช่น การตรวจและรักษามะเร็งชนิดต่างๆแสดงผลภาพทารกในครรภ์มารดาจากเครื่องอัลตราซาวนด์ได้อีกด้วย





ปัจจัยสำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

1.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
          เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้
1.1 การ์ดเสียง คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิตอลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า
1.2 การ์ดจอ คือแผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ
1.3 ไมโครโฟน คืออุปกรณ์ที่รับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่นๆ เช่น การผลิตแอนิเมชัน
1.4 ลำโพง คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดและขยายสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนิดเสียงภายในคอมพิวเตอร์
1.5 เมาส์ปากกา เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับการทำกราฟิก 2 มิติ เช่น การสร้างรูปประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.6 หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมทั้งตัวคำสั่งในโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะกำลังทำงานอยู่
1.7 เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงทั่วไปและเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์

2.โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
         เป็นองค์ประกอบที่สำคัญกับชิ้นงานที่จะสร้างสรรค์ขึ้นและสัมพันธ์กับอุปกรณ์เชื่อมต่อในคอมพิวเตอร์

2.1 การสร้างงานกราฟิก ต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของชิ้นงานที่ออกแบบ การตัดต่อ การวาดร่าง และการตกแต่ง
- อะโดบีโฟโตช็อป เป็นกราฟิกประเภทบิตแมปใช้เพื่อการตัดต่อรูปภาพ
- กิมป์ เป็นซอฟต์แวร์สำหรับตกแต่งภาพแบบเรสเตอร์ คล้ายกับซอฟต์แวร์อย่างอะโดบีโฟโตช็อป
- อะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ เป็นโปรแกรมวาดภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ เพื่อใช้งานกับเครื่องแมคอินทอช
- อิงก์สแคป ทำงานคล้ายกับอะโดบีอิลลัสเทรเตอร์ แต่โปรแกรมอิงก์สแคป สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- กูเกิลสเก็ตช์อัป สามารถสร้างภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ที่สามารถสร้างรูปจำลองได้



- อะโดบีแฟลช เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash



2.2 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้อย่างดายและรวดเร็ว ประหยัดเวลาเป็นอย่างมาก โดยใช้โปรแกรมสำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป

- ฟลิปอัลบัม คือ การนำหนังสือหลายๆเล่ม ออกแบบใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงข้อมูล


- ไอเลิฟลิบรารี เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างอีบุ๊ค



การสร้างงานตัดต่อวีดีโอ

โปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่นิยมใช้มีดังนี้

1. อะโดบีพรีเมียร์ (Adobe premiere) เป็นโปรแกรมที่ใช้การจัดการเกี่ยวกับไฟล์วีดีโอที่มีความสามารถมาก ใช้ในการสร้างงานนำเสนอที่เป็น วีดิทัศน์เพื่อนำเสนอสาระคดี ภาพยนตร์สั้น การ์ตูนแอนิเมชัน การใช้โปรแกรมนี้สร้างงานควรใช้การ์ดจอที่จะทำให้สามารถตัดต่อไฟล์วีดีโอได้อย่างรวดเร็ว



2. มูฟวีเมกเกอร์ (Movie Maker) เป็นโปรแกรมที่ตัดต่อไฟล์วีดิโอที่มีขนาดเล็กถูกติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการของบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการตัดต่อ ไฟล์วีดีโอ ภาพนิ่ง เสียง สามารถนำโปรแกรมนี้มาสร้างเสนอชิ้นงานนำเสนอได้อย่างรวดเร็ว และใช้ทรัพยากรน้อยกว่าโปรแกรม อะโดบีพรีเมียร์ แต่เครื่องมือในการทำงานก็น้อยลงเช่นกัน

3. แวกซ์ (Wax) เป็นโปรแกรมที่ตัดต่อไฟล์วีดีโอประเภทที่ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี และเป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก สามรถแทรกรูป ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เสียง เพื่อสร้างงานนำเสนอ และมีโปรแกรมเสริม (Plug In) ที่เพิ่มความสามรถของโปรแกรมที่สามารถสร้างชิ้นงานได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดจนมีเทคนิคการนำเสนอ (Effect) ของโปรแกรมที่แปลกตามากขึ้น

4. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและสื่อมัลติมีเดีย

4.1 สวิชแม็กซ์( SWish Max )เป็นโปรแกรมสร้างแอนนิเมชั่นที่ใช้งานไม่ซับซ้อนเหมาะสำหรับการสร้างข้อความที่เคลื่อนไหว ประกอบการทำเว็บเพจหรือหัวข้อความของสื่อบทเรียน



4.2 อะโดบีแคปทิเวต(Adobe Captivate)เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ
ข้อมูลเสียง รวบรวจัดการเป็นชิ้นงาน เช่น




5. การสร้างงานด้านเสียง โปรแกรมที่ใช้สร้างงานในด้านเสียงมีดังนี้

5.1 ออดาซิตี (Audacity)ใช้เป็นโปรแกรมในการจัดการเกี่ยวกับเสียง เช่น การอัดเสียงบรรยาย การสนทนาผ่านไมโครโฟน ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Freeware) สามารถตัดต่อ ลบ แทรกเสียง ลดเสียงเพิ่มเสียง เปลี่ยนระดับเสียงให้สูงขึ้นหรือต่ำลง





5.2 แอลเอ็มเอ็มเอส(LMMS : Linux Multimedia Studio)เป็นโปรแกรมฟรีที่สามารถใช้งานได้ดี และมีโปรแกรมเสริม บนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ จำนวนมาก แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการอื่นๆได้ เหมาะกับการสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับเสียง เช่นการสร้างเสียง เทคนิคการนำเสนอ การแต่งเพลง การทำดนตรีที่วนซ้ำ ประกอบกับชิ้นงานอื่นๆ





การศึกษาผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้น

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานนั้น ผู้สร้างจะต้องมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเสมอ ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นเพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตถุประสงค์นี้จะเกิดจากการที่ผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานได้พบกับปัญหาหรือเห็นปัญหาที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันนอกจากการสร้างชิ้นงานเพื่อแก้ปัญหาแล้ว วัตถุประสงค์ในการสร้างชิ้นงานเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆให้กับผู้ใช้งานหรือแนวทางของการสร้างชิ้นงานจะเกิดจากการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นการสร้างเพิ่มเติมจากสิ่งเดิมที่มีอยู่ และประการสุดท้าย เป็นการสร้างชิ้นงานเพื่อความประสงค์ของผู้สร้างเอง เนื่องจากชิ้นงานที่สร้างจากคอมพิวเตอร์มีลักษณะโดดเด่นกว่าผลงานในสาขาอื่นๆ ชิ้นงานจึงมีโอกาสกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้เสมอ ซึ่งผลกระทบจะมี 2 ทิศทาง ดังนี้

ผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้นผลกระทบในทางบวก

- ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์
          เทคโนโลยี สารสนเทศช่วยทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้นช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพ ในการทำงานทำให้มนุษย์มีเวลาอ่านข่าวมากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตรายมีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำ ให้ติดต่อถึงกันได้สะดวกมีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถใช้โทรศัพท์ในขณะเดินทางไปมายังที่ต่างๆ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ลิฟต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศมีเครื่องช่วยให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วิทยุ โทรทัศน์มีรายการให้เลือกชมได้มากมายมีการแพร่กระจาย สัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมทำให้ผู้ชมสามารถรับรู้ข่าวสารต่างๆจากทั่วทุกมุมโลกได้อย่าง รวดเร็วเหมือนอยู่ในเหตุการณ์

- ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น
          ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมากมีคุณภาพ มาตรฐานการผลิตในสมัยปัจจุบัน ใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติสามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้คุณภาพและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลต่อการผลิตมาก

- ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่
           เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัย ในห้องปฏิบัติการวิจัยต่างๆ มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้นคอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน นักวิจัยนักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่ง ที่มองไม่เห็นตัวใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

            ปัจจุบัน เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการดำเนิน การช่วยในการแปลผลเรามีเครื่องมือตรวจหัวใจ ที่ทันสมัยมีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆของร่าง กายได้อย่างละเอียดมีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจค้นหา โรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่ทันสมัยหรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการ ผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นมีเครื่องมือที่คอยวัดและ ตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียดระบบการรักษาพยาบาลจากที่ ห่างไกล

- ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์
              คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆทำงานได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสามารถเก็บข้อมูลต่างๆไว้ได้มากการแก้ปัญหา ที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดีและรวดเร็วงานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอดชีวิตแต่คอมพิวเตอร์ สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆเพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหา

ผลกระทบของชิ้นงานที่สร้างขึ้นผลกระทบในทางลบ
- ทำให้เกิดความวิตกกังวล
            ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวล ว่าคอมพิวเตอร์ อาจทำให้เกิดการว่าจ้างงานน้อยลงมีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้นมีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้นทำให้ ผู้ใช้แรงงานอาจตกงานหรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้โดยความเจริญ แล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคลากรบางคน เท่านั้นแต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีหรือมีการพัฒนาให้ มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น

- ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ
            ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้น้ำท่วมหรือด้วยสาเหตุใดก็ตามทำให้ข้อมูลหายหมดย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง

- ทำให้การพัฒนาอาวุธมีอำนาจทำลายสูงมาก
               ประเทศที่เป็นต้นตำรับของเทคโนโลยีสามารถนำเอาเทคโนโลยี ไปใช้ในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูงทำให้หมิ่นเหม่ต่อสงคราม ที่มีการทำลายล้างสูงเกิดขึ้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ 
                 ชิ้นงานที่สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์นั้นจาเป็นต้องอาศัยซอฟท์แวร์ในการทางานร่วมกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์และอาจจะต้องมีการใช้ระบบสื่อสารในอินเตอร์เน็ต เพื่ออานวยความสะดวกในการ
สร้างสรรค์ชิ้นงาน ดังนั้นผู้สร้างชิ้นงานต้องมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การ
เริ่มการผลิต ในระหว่างการผลิต จนถึงความรับผิดชอบเมื่อผลงานได้ถูกนาไปใช้แล้ว ซึ่งมีข้อปฏิบัติ
และกฎหมายที่ควรรู้ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ซอฟท์แวร์ที่
นามาผลิตชิ้นงาน จนถึงการคุ้มครองชิ้นงานที่ผลิตขึ้นด้วย ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างชิ้นงานคือ
ส่วนที่ ๖

ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
            มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อ
การแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึง
สิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้
บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือ
ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทาดังต่อไปนี้

(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทาเพื่อหากาไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัว
หรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงาน
นั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นาออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล
หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอานาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นาออกแสดง หรือทาให้ปรากฏโดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอน
ของตน อันมิใช่การกระทาเพื่อหากาไร
(7) ทำซ้า ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทาบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบัน
ศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจาหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการ
กระทาเพื่อหากาไร
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

มาตรา 33 การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมี
ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการ
ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง
มาตรา 34 การทาซ้าโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทาซ้านั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากาไร และได้ปฏิบัติตาม
มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
(2) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือ
การศึกษา

มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่า
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากาไร และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ใน
กรณีดังต่อไปนี้

(1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสาเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรม
คอมพิวเตอร์นั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ใน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
(5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจานวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อหรือได้รับ
โปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบารุงรักษาหรือป้องกันการสูญ
หาย
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นาออกแสดง หรือทาให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล
หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอานาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
(8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จาเป็นแก่การใช้
(9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สาหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อ
ประโยชน์ของสาธารณชน

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 

               เป็นกฎหมายที่ทุกคนต้องคำนึงถึง เนื่องจากการสร้างชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งผลกระทบทางด้านลบอาจเป็นการผิดจริยธรรมในการใช้ โดยทั่วไป เช่น การสร้างโปรแกรมตรวจการทางานของพนักงานบริษัท ซึ่งอาจเป็นการละเมิดหากนำมาใช้กับบุคคลทั่วไป ดังนั้น ในการสร้างชิ้นงานคอมพิวเตอร์ต้องศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
ไม่สร้างชิ้นงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดกระทาผิดกฎหมาย ซึ่งในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์
ครอบคลุมการสื่อสารในอินเตอร์เน็ต มีหมวดที่ผู้ผลิตชิ้นงานด้วยคอมพิวเตอร์ควรรู้ ดังนี้
หมวด 1 
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้น มิได้มีไว้สาหรับตน ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 6
ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการ
เฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าว ไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้อง
ระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา 7
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้น มิได้มีไว้สาหรับตน ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 8
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่ง
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้
มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป ใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ
บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 10
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทางานของระบบคอมพิวเตอร์
ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทางานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 11
ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือ
ปลอมแปลงแหล่งที่มา ของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ
บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 12 ถ้าการกระทาความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
(1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือใน
ภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสอง
แสนบาท
(2) เป็นการกระทาโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือ
ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ
ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะหรือเป็นการกระทาต่อข้อมูล
คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่สามปีถึง
สิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทาความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่น
ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 13
ผู้ใดจาหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคาสั่งที่จัดทาขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนาไปใช้เป็น
เครื่องมือในการกระทาความผิด ตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10
หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

มาตรา 14
ผู้ใดกระทาความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความ
มั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและ
ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม
(1)(2) (3) หรือ (4)

มาตรา 15
ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทาความผิดตามมาตรา 14
ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทาความผิดตาม
มาตรา 14

มาตรา 16
ผู้ใดนาเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล
คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏ เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือ
ดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทาให้ผู้อื่นนั้นเสีย
ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่
เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ถ้าการกระทาตามวรรคหนึ่ง เป็นการนาเข้าข้อมูล คอมพิวเตอร์
โดยสุจริต ผู้กระทาไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายใน
ความผิด ตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา 17
ผู้ใดกระทาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(1) ผู้กระทาความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือ
ผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(2) ผู้กระทาความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและ
ผู้เสียหาย ได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
จากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีการ
กาหนดโทษตามความผิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากผู้สร้างชิ้นงานได้ศึกษากรอบของกฎหมายที่
เกี่ยวข้อง ก็ทาให้การสร้างชิ้นงานจากคอมพิวเตอร์เป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ สร้างคุณประโยชน์ต่อ
ตนเอง ประเทศชาติจนถึงการเป็นพลโลกที่มีจิตสานึกรับผิดชอบต่อสังคม
ที่มา : www.kroobannok.com
           https://sites.google.com/site/workcom65/home/kar-chi-khxmphiwtexr-chwy-srang-chin-ngan-xyang-mi-citsanuk

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

ค่านิยม 12 ประการ