สารสนเทศ เพื่อประกอบการตัดสินใจ


            ระบบการทำงานในอดีตมีการใช้ระบบสารสนเทศช่วยจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพไม่แน่นอน ไม่มีความสะดวก และมีคามยุ่งยากในการใช้งาน ปัจจุบันจึงได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

            ระบบสารสนเทศ (Information Systems) คือ กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุมการทำงาน และช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ



ที่มา: ฝ่ายวิจัยและฐานข้อมูล AREA (http://www.area.co.th/)
           
             ระบบสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการทำงานในทุกด้าน แต่ละด้านสามารถแบ่งประเภทได้หลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งานในด้านนั้นๆ เช่น ระบบสารสนเทศที่ใช้ส่งเสริมการทำงานในด้านอุตสาหกรรม สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบสารสนเทศการจัดการวัตถุดิบและระบบสารสนเทศการจัดการผลผลิต อย่างไนก็ตาม การใช้งานระบบสารสนเทศทุกประเภทจะต้องมีองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (Component of Information System) ซึ่งองค์ประกอบของระบบสารสนเทศทุกส่วนจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการใช้งานระบบสารสนเทศนั้นๆ



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศแบ่งเป็น 5 ส่วน ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ใช้ประมวลผลหรือสร้างสาระสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ CPU เครื่องพิมพ์
2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ
3. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information) คือ ข้อเท็จจริงต่างๆทั้งที่ผ่านการประมวลผลและยังไม่ผ่านการประมวลผล อยู่ในรูปของ ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ ฯลฯ
4. บุคลากร (Peopleware) คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 4 ระดับคือ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง และผู้ใช้
5. กระบวนการทำงาน (Procedure) คือ ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตามที่ต้องการ เช่น การสมัครสมาชิก การเข้ารหัส ฯลฯ
5.1 การนำเข้า (Input) เป็นการนำข้อมูลและสารสนเทศต่างๆที่ได้จากการรวบรวมเข้าสู่ระบบ
5.2 การประมวลผล(Process) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยการเรียงลำดับ การคำนวณ ฯลฯ
5.3 การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการเพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
5.4 การจัดเก็บ (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้ระบบสารสนเทศสามารถนำมาใช้ได้ใหม่ในอนาคต

         ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
                ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลหรือสารสนเทศนั้นไปช่วยในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ระบบสารสนเทศที่ดีจึงควรมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) ซึ่งพิจารณาได้จากความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) และความสมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) ช่วยให้เกิดความเข้าใจในการใช้งาน (Simple) ทันต่อเวลา (Timely) มีความคุ้มค่า (Economical) ตรวจสอบได้ (Verifiable) มีความยืดหยุ่น (Flexible) สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant) สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) และมีความปลอดภัย (Secure) ระบบสารสนเทศดังกล่าว เมื่อนำมาใช้จะช่วยบุคลากรในองค์กรให้สามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจนี้เรียกว่า DSS (Decision Support System) ซึ่งเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information System) โดย DSS มีลักษณะ ประโยชน์ และส่วนประกอบ ดังนี้

1. ลักษณะของ DSS เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ช่วยในการจัดการ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อน ซึ่งมีการตอบสนองหรือโต้ตอบกับผู้ใช้งาน ปัญหาที่แก้ไขด้วย DSS จะเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนหรือข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยสารสนเทศเพื่อประมวลผลรายการธุรกรรม (TPS : Transaction Processing System) ทั่วไป ตัวอย่างการใช้งาน DSS เช่น เมื่อเจ้าของกิจการต้องการปรับปรุงเครื่องจักรสำหรับผลิตปลากระป๋อง เจ้าของกิจการจะต้องนำเข้าข้อมูลต่างๆลงใน DSS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้ว่าจะเกิดความคุ้มค่าหรือไม่ จากนั้นเจ้าของกิจการจึงจะตัดสินใจว่าควรจะซื้อเครื่องจักรใหม่ ซ่อมแซมเครื่องจักรเก่า หรือเลื่อนการดำเนินการออกไปก่อนเพราะไม่เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน



แผนผังแสดงการใช้งาน DSS ปรับปรุงเครื่องจักร

                  จากแผนผังแสดงการใช้งาน DSS ปรับปรุงเครื่องจักรจะเห็นว่า การตัดสินใจที่ถูกต้องนั้นจะต้องอาศัยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจาก DSS รวมกับการวิเคราะห์และทัศนคติของเจ้าของกิจการนั่นคือ ไม่มีข้อมูลที่ได้จาก DSS จะมีประสิทธิภาพมากเพียงใดก็ตาม ผลของการตัดสินใจก็ยังขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์และทัศนคติของเจ้าของกิจการหรือผู้ใช้ระบบสารสนเทศนั้นๆ

2. ประโยชน์ของ DSS เนื่องจาก DSS ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติงานในขั้นต่างๆของกระบวนการทำงาน ซึ่งไม่ใช่การรวบรวมและการแสดงข้อมูลที่ใช้งานประจำวันทั่วๆไป ทำให้ DSS มีประโยชน์ดังนี้
2.1 ช่วยประมวลผลและนำเสนอข้อมูลแก่ผู้ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ
2.2 ช่วยประเมินทางเลือกในการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขของปัญหาแต่ละสถานการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะของสถานการณ์นั้นๆ
2.3 ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2.4 ช่วยสร้างความยืดหยุ่น ความสมบูรณ์ และความสะดวกในการตัดสินใจ
2.5 ช่วยเพิ่มพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมมากกว่าการปฏิบัติงานทั่วๆไป
2.6 ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ตัวอักษร แผนภูมิ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย
2.7 ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง ส่งเสริมการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจในองค์กรต่างๆ
2.8 ช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กรด้วยการโต้ตอบแบบทันที (Interactive)

3. ส่วนประกอบของ DSS จะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจโดยตรง กล่าวคือ ส่วนประกอบที่ดีจะทำให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือ แต่ถ้าส่วนประกอบไม่ดีก็จะทำให้กระบวนการทำงานขาดประสิทธิภาพ ส่วนประกอบของ DSS แบ่งเป็น 4 ส่วน

3.1 อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบที่รวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์แบ่งตามบทบาทและหน้าที่ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
– อุปกรณ์ประมวลผล ปัจจุบัน DSS สามารถใช้งานด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี
(PC : Personal Computer) ที่มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ประเภท DSS โดยเฉพาะหรือประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์พื้นฐานประเภท ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ (Spreadsheet) หรือ ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database) ก็ได้
– อุปกรณ์สื่อสาร เป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการทำงานระยะไกลและการทำงานเป็นกลุ่ม โดยเครือข่ายที่นิยมใช้ คือ เครือข่ายแลน (LAN : Local Area Network) สำหรับองค์กรขนาดเล็กและเครือข่ายแมน (MAN : Metropolitan Area Network) สำหรับองค์กรขนาดเล็ก ทำให้ต้องติดตั้งวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) เพิ่มในระบบเพื่อช่วยในการประชุมทางไกล (Teleconference) ของผู้ใช้งาน
– อุปกรณ์แสดงผล การใช้งาน DSSจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผลที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อรูปแบบของข้อมูลนั้นๆ เพื่อช่วยถ่ายทอดข้อมูลและสารสนเทศที่ชัดเจน เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดสูงและสามารถแสดงผลในรูปแบบของมัลติมีเดีย

3.2 ระบบการทำงานของ DSS มีลักษณะเป็นชุดคำสั่งเฉพาะที่สร้างและพัฒนาขึ้นในรูปแบบที่เตกต่างกันตามลักษณะขององค์กร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
– ฐานข้อมูล (Database) เป็นการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศเฉพาะการทำงานของ DSS ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยในการแสดงผล ณ ขณะนั้นของระบบ
– ฐานแบบจำลอง (Model Base) เป็นการรวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแบบจำลองการวิเคราะห์ปัญหาของระบบเพื่อช่วยในการประมวลผลข้อมูล
– ระบบชุดคำสั่ง (Software System) เป็นส่วนประกอบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้ฐานข้อมูล และฐานแบบจำลอง มักมีรูปแบบของระบบชุดคำสั่งในลักษณะของหน้าต่างโปรแกรม

3.3 ข้อมูล เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการทำงานด้วย DSS โดย DSS จะเก็บข้อมูลไว้ที่ฐานข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผลในฐานแบบจำลองแล้วนำเสนอด้วยระบบชุดคำสั่ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน มีความถูกต้อง ทันสมัย มีความยืดหยุ่น และสามารถนำมาจัดและนำเสนอในรูปแบบเพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม

3.4 บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่มีบทบาทต่อการกำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบ และการใช้งาน DSS ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
– ผู้ใช้ (End – User) เป็นผู้นำเข้าข้อมูลและรับข้อมูลจาก DSS โดยไม่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลโดยตรงของระบบสารสนเทศ
– ผู้สนับสนุนระบบสารสนเทศ (DSS Support) เป็นผู้ควบคุม ดูแลรักษาอุปกรณ์ และระบบการทำงานให้มีความสมบูรณ์และสามารถประมวลผลได้เต็มประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้ใช้
ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

           ระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยให้ผู้ใช้ในทุกระดับขององค์กรตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบ่งตามผู้ใช้งานเป็น 2 ประเภท คือระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลและระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม



ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล



ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล

             ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล เป็นระบบสารสนเทศที่มีผู้ใช้หรือผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียว ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องมีอำนาจในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศของผู้บริหาร หรือ (EIS) (Executive Information System ) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มของเรื่องที่สนใจ ส่วนใหญ่จะนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบของรายงาน ตารางและกราฟ เพื่อสรุปสารสนเทศให้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา เช่น บริษัทแห่งหนึ่งต้องการเปิดสาขาเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ผู้บริหารจึงนำเข้าข้อมูลต่างๆ ของบริษัทไว้ในฐานข้อมูลของ EIS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้



        ลักษณะพิเศษของEIS คือ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งหรือทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ EIS ในแต่ละซอฟต์แวร์หรือ EIS ของแต่ละบริษัทจะมีประโยชน์และรายละเอียดต่างๆแตกต่างกันตามแบบจำลองเฉพาะงานที่สร้างขึ้น แต่ EIS ทุกซอฟต์แวร์จะมีประโยชน์โดยรวมเหมือนกันดังนี้
– ช่วยในการตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– ช่วยประหยัดเวลาในการสร้างความเข้าใจและตัดสินใจของผู้บริหาร
– สามารถนำสารสนเทศจาก EIS ไปอ้างอิงเพื่อดำเนินการทางธุรกิจได้สะดวกยิ่งขึ้น
สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของ EIS มีรูปแบบที่หลากหลายนับตั้งแต่สิ่งตีพิมพ์ที่แสดงข้อความ ภาพนิ่ง กราฟและแผนภูมิไปจนถึงมุลติมีเดียที่มีความซับซ้อนขึ้นไป โดยสารสนเทศทุกรูปแบบต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย



ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

             ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มหรือ GDSS (group decision support system) เป็นระบบสารสนเทศที่พฒนามาจากระบบสารสนเทศสนบสนุนการตัดสินใจของบุคคลเรื่องจากการทำงานภายในองค์กรมักใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้ที่มีจำนวนมากกว่า 1 คนในการตัดสินใจการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในผลการตัดสินใจนั้น ๆ การนำ GDSS มาใช้ในองค์กรจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ที่ผู้ใช้คนใดคนหนึ่งมาเก็บรวบรวมไว้ในระบบฐานข้อมูล บุคลากรทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและส่งเสริมการตัดสินใจขององค์กร ตัวอย่างการใช้งาน GDSS เช่น บริษัทแห่งหนึ่งต้องการปรับเปลี่ยนเวลาทำงานของพนักงานบริษัท จึงมีการรวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นของพนักงานทุกคนไว้ในฐานข้อมูลของ GDSS เพื่อประมวลผลตามแบบจำลองที่สร้างไว้ จากนั้นผู้บริหารหลาย ๆ ฝ่ายร่วมกันตัดสินใจว่าควรจะดำเนินการอย่างไร

แผนผังแสดงการใช้งาน GDSS เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของพนักงาน



             จากแผนผังแสดงการใช้งาน GDSS เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานของพนักงานจะเห็นได้ว่าผู้ใช้ GDSS มีจำนานมากกว่า 1 คน ดังนั้น GDSS จึงต้องทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์และมีอุปกรณ์ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มติดตั้งเพิ่มขึ้นในระบบสารสนเทศ GDSS ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1. เกิดความร่วมมือกันภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทุกคนในองค์กรสามารถแสดงความคิดเห็นหรือนำข้อมูลใน GDSS ได้

2. ลดอคติต่อแหล่งที่มาของข้อมูลและช่วยกระตุ้นความคิดเห็นใหม่ ๆ เนื่องจากผู้แสดงความคิดเห็นผ่านทาง GDSS ไม่จำเป็นต้องแสดงข้อมูลของตนเอง

3. ลดปัญหาความขัดแย้งของข้อมูล เนื่องจาก GDSS จะรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวเท่านั้น ข้อมูลที่นำเสนอไปยังผู้ใช้ทุกคนจึงเป็นข้อมูลเดียวกัน

4. เพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของผลการตัดสินใจ เนื่องจากเป็นผลการตัดสินใจจากผู้ใช้หลายคน

ปัจจุบันมีการนำ GDSS มาใช้งานอย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การประชุมทางไกล การสอบถามความคิดเห็น การลงคะแนนเสียง
ที่มา : https://abutkun.wordpress.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงาน

เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน

ค่านิยม 12 ประการ